บทความ

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558

การรักษาด้วยวิธีฉีดเชื้อ (IUI) หรือการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (IVF, ICSI) ต้องมีทะเบียนสมรส

ไข่,อสุจิ,ตัวอ่อน  นำเข้าหรือส่งออกไม่ได้ โรงพยาบาลที่ให้บริการต้องมีการรับรองมาตรฐานจากกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ มีการตรวจเยี่ยมเพื่อต่อใบอนุญาตทุก 3 ปี ต้องส่งข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมและข้อมูลทางสถิติทุกปี

คุณสมบัติผู้บริจาคไข่

– อายุ 20-35 ปี (กรณีเป็นญาติสืบสายโลหิตได้ถึงอายุ 40 ปี)
– มีหรือเคยมีทะเบียนสมรส (ยกเว้นเป็นญาติสืบสายโลหิต)
– สัญชาติเดียวกับคู่สมรส (หรือสัญชาติเดียวกับสัญชาติเดิมของคู่สมรส)
– บริจาคได้ไม่เกิน 3 ครั้ง

(ผู้บริจาคต้องมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจเลือด,ทำอัลตร้าซาวนด์ ก่อนเริ่มการกระตุ้นรังไข่)


คุณสมบัติผู้บริจาคอสุจิ

– อายุ 20-45 ปี
– ถ้ามีภรรยาตามกฎหมาย ต้องมีหนังสือยินยอม
– บริจาคแล้วมีเด็กคลอดมาไม่เกิน 10 ครอบครัว

(ผู้บริจาคต้องมารพ.หรือตรวจเลือด,ตรวจอสุจิ  อสุจิที่บริจาคจะถูกแช่แข็งไว้ 6 เดือน และผู้บริจาคต้องตรวจเลือดหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกครั้ง จึงจะนำอสุจิไปใช้ได้)

คุณสมบัติของหญิงตั้งครรภ์แทน

– อายุ 20-40 ปี
– สัญชาติเดียวกับคู่สมรส (สามีหรือภรรยา)
– เคยมีบุตรมาแล้ว โดยคลอดธรรมชาติไม่เกิน 3 ครั้ง หรือผ่าคลอดไม่เกิน 1 ครั้ง
– ได้รับความยินยอมจากสามีตามกฎหมายหรือชายที่อยู่กินกัน
– รับตั้งครรภ์แทนจนคลอดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง

(คู่สมรสที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทนต้องมีข้อบ่งชี้ว่าไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ ฝ่ายหญิงอายุไม่เกิน 55 ปีและต้องมีสัญชาติไทย ถ้าแต่งงานกับต่างชาติต้องจดทะเบียนสมรสมาไม่น้อยกว่า 3 ปี)

(กรณีตั้งครรภ์แทนต้องมีการส่งเอกสารต่างๆไปที่ กลุ่มคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อพิจารณาอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนได้,เมื่อคลอดบุตรแล้วให้นำเอกสารไปแจ้งเกิดที่เขต คู่สมรสจะได้เป็นบิดาและมารดาตามกฎหมาย)